กลองโนรา

กลองโนรา

กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ หน้ากลองทั้ง ๒ ด้าน ประมาณ ๑๐ นิ้ว และมี ส่วนสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว กลองโนรานิยมทำด้วยแก่นไม้ขนุน เพราะเชื่อว่าทำให้เสียงดี หนังที่ หุ้มกลองใช้หนังวัวหรือควายหนุ่ม ถ้าจะให้ ดีต้องใช้หนัง ของลูกวัว หรือลูกควาย มี หมุดไม้หรือภาษาใต้เรียกว่า “ลูกสัก” ตอกยึดหนังหุ้มให้ตึง มีขาทั้งสอง ขาทำด้วยไม้ไผ่ มีเชือกตรึงให้ติดกับ กลอง และมี ไม้ตีขนาดพอเหมาะ ๑ คู่ ถ้า เป็นกลองที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี ขนาดเล็กกว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว และมีส่วนสูงประมาณ ๘ นิ้ว

ที่มา

http://www.infoforthai.com/forum/topic/10824

จะเข้

 จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย  ตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 52 ซม. และกว้างประมาณ 11.5 ซม. ท่อนหัวและท่อนหางขุดเป็นโพรงตลอด รวมทั้งสิ้นมีความยาวประมาณ 130 – 132 ซม. ปิดใต้ทองด้วยแผ่นไม้ มีเท้ารองตอนหัว 4 เท้า และตอนปลายปางอีก 1 เท้า วัดจากปลายเท้าถึงตอนบนของตัวจะเข้ สูงประมาณ 19 ซม. ทำหลังนูนตรงกลางให้สองข้างลาดลง โยงสายจากตอนหัวไปทางตอนหางเป็น 3 สาย มีลูกบิดประจำสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น มีหย่องรับสายอยู่ตรงปลายหางก่อนจะถึงลูกบิด ระหว่างตัวจะเข้มีแป้นไม้เรียกว่า นม รองรับสายติดไว้บนหลังจะเข้ รวมทั้งสิ้น 11 อัน เพื่อไว้เป็นที่สำหรับนิ้วกดนมแต่ละอันสูง เรียงลำดับขึ้นไป ตั้งแต่ 2 ซม. จนสูง 3.5 ซม. เวลาบรรเลงใช้ดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เคียนด้วยเส้นด้ายสำหรับพันติดกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางช่วยจับให้มีกำลัง เวลาแกว่งมือส่ายไปมา ให้สัมพันธ์ กับมือข้างซ้ายขณะกดสายด้วย                                                                                                          สายของจะเข้นั้นจะมีอยู่ 3 สาย ส่วนใหญ่ทำมาจากไหมหรือเอ็น สามารถแบ่งได้ดังนี้         สายที่อยู่ติดกับตัวผู้เล่นจะเข้ มีชื่อเรียกว่า สายลวด เป็นสายที่ทำมาจากลวดทองเหลือง
สายที่อยู่ทางด้านนอกสุดของจะเข้ มีชื่อเรียกว่า สายเอก ทำมาจากไหมหรือเอ็น
สายที่อยู่ตรงกลาง มีชื่อเรียกว่า สายทุ้ม ทำมาจากไหมหรือเอ็น

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89

แคน

ประเภทของแคน

แคนมีหลายประเภทตามจำนวนลูกแคน คือ

  1. แคนหก มีลูกแคน 3 คู่ (6 ลูก) เป็นแคนขนาดเล็กที่สุด สำหรับเด็กหรือผู้เริ่มฝึกหัดใช้เป่าเพลงง่าย ๆ เพราะเสียงไม่ครบ
  2. แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก) เป็นแคนขนาดกลาง มีเสียงครบ 7 เสียง ตามระบบสากล และมีระดับเสียงสูง ต่ำ ทั้ง 7 เสียง หรือที่เรียกว่า คู่แปด คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที (คู่แปด คือทุกเสียงเช่นเสียงโด ก็จะมีทั้งเสียงโดสูง และโดต่ำ ทุกเสียงมีคู่เสียงทั้งหมด)
  3. แคนแปด ใหญ่กว่าแคนเจ็ด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เพิ่มคู่เสียงระดับสูงขึ้นไปให้เป็นเสียงประสานในการเล่นเพลงพื้นเมือง
  4. แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) ใหญ่ที่สุด เวลาเป่าต้องใช้ลมมากจึงไม่ค่อยมีคนนิยม ในเรื่องระดับเสียงของแคนเหมือนระบบเสียงดนตรีสากลนั้น เป็นเรื่องน่าสนใจ น่าที่จะได้ศึกษากันต่อไปว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ดนตรีไทยไม่มีขั้นครึ่งเสียง และเพลงพื้นเมืองอีสานใช้เพียง 5 ขั้น คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียงฟา และ ที

แคนนอกจากบรรเลงเป็นวงแล้ว ก็ยังใช้บรรเลงประกอบการลำ (การขับร้อง) หรือใช้บรรเลงร่วมกับพิณโปงลาง ฯลฯ

ที่มา

http://www.google.co.th/search?q=แคน

http://th.wikipedia.org/wiki/

ขิม

          ขิม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำอธิบายไว้ว่า “เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง รูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีกใช้ตี” ขิมถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยชาวจีนนำมาบรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสายจีน และประกอบการแสดงงิ้วบ้าง บรรเลงในงานเทศกาล และงานรื่นเริงต่างๆบ้าง คำว่า ขิม มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งมาจากอักษรจีน  ซึ่งในภาษาจีนกลางอ่านว่า ฉิน นักดนตรีไทยนำขิมมาบรรเลงในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 โดยแก้ไขบางอย่าง คือเปลี่ยนสายลวดทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับ ไปตลอดจน ถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายกับมือขวามีระดับเกือบตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้ใหญ่และก้านแข็งขิ้น หย่องที่หนุนสาย มีความหนา กว่าของเดิมเพื่อให้เกิดความสมดุล และมีความประสงค์ให้เสียงดังมากขึ้น และไม่ให้เสียงที่ออกมาแกร่งกร้าวเกินไปให้ทาบสักหลาดหรือหนังตรงปลายไม้ตี ส่วนที่กระทบกับสาย ทำให้เสียงเกิดความนุ่มนวล และได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผสมจนถึงปัจจุบัน เพลงที่นิยมบรรเลงกันมากคือ เพลงขิมเล็ก และเพลงขิมใหญ่ ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงจีนที่เกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระประดิษฐ์ไพเราะ ได้จำทำนองการตีขิมของคนจีนแล้วมาแต่งเป็นเพลงในอัตรา 2 ชั้นได้ 2 เพลง ตั้งชื่อว่า เพลงขิมเล็ก และเพลงขิมใหญ่ สำหรับเพลงขิมเล็ก พระประดิษฐ์ไพเราะได้แต่งขยายเป็นอัตรา 3 ชั้น ส่วนเพลงขิมใหญ่ ครูช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งขึ้นเป็น อัตรา 3 ชั้น เช่นกัน และทั้ง 2 เพลงนี้ ครูมนตรี ตราโมทได้แต่งตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียว จนครบเป็นเพลงเถา เมื่อประมาณปี พุทธศักราช 2478 และได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้

                  ที่มา

http://www.postfree108.com/067440_3rf2eg2g2eg2/

http://th.wikipedia.org/wiki/

ฉิ่ง

ฉิ่ง

เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุดมี 2 ฝา ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสาย และวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 – 6.5 ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง “ฉิ่ง” แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง “ฉับ” ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง

 

ภาพ:C22.jpg

 

 การตีฉิ่ง

(ผู้ที่ตีฉิ่งถือว่าเป็นผู้ควบคุมวงหรือวาทยกร)

เสียงของฉิ่งกำหนดให้มี 2 เสียงคือ จังหวะเบา มีเสียงเป็น “ฉิ่ง” และจังหวะหนักมีเสียงเป็น “ฉับ” เสียงฉับถือว่าเป็นเสียงจังหวะตก การตีฉิ่งที่ถูกต้องจะต้องให้เสียง “ฉับ” อยู่ที่จังหวะตก หรือสิ้นสุดของจังหวะ ถ้าหากสิ้นจังหวะเป็น “ฉิ่ง” จะทำให้กลางเป็นเสียง “ฉับ ฉิ่ง” ถือว่าตีผิดวิธี และเรียกการตีฉิ่งอย่างนี้ว่า ตีฉิ่งหงาย ไม่ใช่หงายฉิ่ง ทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญได้

เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง ฉิ่ง แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง ฉับ ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง

 

ภาพ:C22-1.jpg
จากภาพด้านบนเป็นลักษณะขอโน๊ตของการตีฉิ่ง

 

 รูปร่างลักษณะ

ฉาบ เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะ รูปร่างคล้ายจานทำด้วยโลหะบางกว่าฉิ่ง มี 2 ขนาด ฉาบเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. ฉาบใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 ซม.

ประวัติ

เครื่องดนตรี 2 ชนิดมีเล่นกันมาช้านานแล้ว ในราวสมัยสุโขทัย

 

ภาพ:Images.jpg

 

การเทียบเสียง

ไม่มีการเทียบเสียง แล้วแต่ขนาด

 การประสมวง

1. ประกอบการร้อง (ฉิ่ง)

2. เครื่องสาย ปี่พาทย์ มโหรี

3.กลองยาวและวงดนตรีแทบทุกชนิด

บริเวณที่นิยมบรรเลง

ภาคกลาง และภาคอื่นทั่วประเทศไทยวิธีเก็บรักษา

หากมีหารบรรจุ ให้บรรจุฉิ่งในภาชนะที่สะอาด แห้ง เรียบร้อย และป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับฉิ่งได้

ที่มา

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

 

ฉาบ

    

      ฉาบ

ฉาบ (อังกฤษ: cymbal) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชัน มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ รูปร่างคล้ายจาน โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องดนตรีไม่มีระดับเสียง

      ฉาบในดนตรีสากล

เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในดนตรีหลายชนิด เช่นวงออร์เคสตราสมัยใหม่ วงมาร์ช วงคอนเสิร์ต ดนตรีทหาร รวมถึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลองชุดในปัจจุบันด้วย

ในวงโยธวาทิต สามารถแบ่งฉาบที่ใช้ออกได้เป็นสองชนิด คือ ฉาบคู่ และฉาบแขวนหรือฉาบรัว ฉาบคู่เป็นฉาบสองใบ แต่ละใบจะมีสายเป็นวงสำหรับถือ การเล่นใช้มือแต่ละข้างถือฉาบแล้วนำเข้ามากระทบกัน ส่วนฉาบแขวน เป็นฉาบใบเดียวแขวนกับขาตั้ง นิยมตีด้วยไม้แบบหัวมัลเล็ตหุ้ม ในกลองชุดก็ใช้ฉาบแบบนี้เช่นเดียวกัน

     ฉาบในดนตรีไทย

ฉาบเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำด้วยโลหะคล้ายฉิ่ง แต่หล่อให้บางกว่า ฉาบมี 2 ชนิดคือฉาบเล็ก และ ฉาบใหญ่ฉาบเล็กมีขนาด ที่วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 –14 ซม ส่วนฉาบใหญ่มีขนาดที่วัดผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 24 –26 ซม เวลาบรรเลงใช้ 2 ฝามาตีกระทบกันให้เกิดเสียงตามจังหวะ เมื่อฉาบทั้งสองข้างกระทบกันขณะตีประกบกันก็ จะเกิดเสียง ฉาบแต่ถ้าตีแล้วเปิดเสียงก็จะได้ยินเป็น แฉ่ง แฉ่ง แฉ่ง เป็นต้น

ที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A

โหวด

 

         โหวด เดิมเป็นของเล่นของคนอีสาน ใช้แกว่งเล่นเหมือน “สนู” ต่อมาได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีของวงดนตรีพื้นเมือง ประเภทเครื่องเป่า สามารถเป่าหรือแกว่งให้เกิดเสียงดังได้

แคนและโหวด โหวด
เครื่องดนตรีจากไม้ไผ่ แคน และ โหวด โหวด

      โหวด เป็นชื่อเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ทำด้วยไม้ไผ่ (ชนิดหนึ่ง) แบบเดียวกับขลุ่ยแต่ประกอบด้วย ขลุ่ยต่างชนิดหลายเลาติดอยู่รอบแกน แต่ละเลาให้ระดับเสียงเพียง ๑ ระดับ เวลาเป่าหรือแกว่งจะมีเสียงดัง “โหวดๆ” หรือ “หวูดๆ”

ประวัติความเป็นมาของโหวด

       เดิมโหวดเป็นของเล่นของเด็กเลี้ยงควาย ชาวภาคอีสานทั่วๆ ไป ใช้เล่นในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ใช้เล่น ๓ กรณี คือ

  1. เป่าเล่นเพื่อประโลมใจขณะขี่หลังควายหรือพาควายเล็มหญ้าตามทุ่งนา
  2. ใช้แกว่งและเหวี่ยงเพื่อฟังเสียง ด้วยการต่อหางโหวดให้ยาว แล้วเอาบ่วง ๒ หัว ที่เรียกว่า “ตอง” คล้องหัวและหางโหวด แล้วแกว่งรอบศรีษะด้วยความเร็วสูง เสียงปะทะรูโหวดทุกลูกพร้อมๆ กัน จะเกิดเสียงดังว่า “ลาวๆ” หรือ “แงวๆ” ฟังแล้วชวนเพลิดเพลิน ชาวไทยลาวภาคอีสานเรียกการแกว่งโหวด เช่นนี้ว่า “การแงวโหวด”
  3. การโยนเล่นเป็นกีฬา กล่าวคือเมื่อแกว่งโหวดฟังเสียงพอใจแล้วก็ปล่อยหางบ่วง ทำให้โหวดลอยโด่งขึ้นไปในอากาศเกิดเสียงดัง “โหวดๆ” หรือ “โหว่ๆ” เรียกว่า การทิ้มโหวด (ถิ้ม-ทิ้ม)

คนโบราณมีความเชื่อว่า โหวดเกิดขึ้นมาหลายพันปีแล้ว ตามนิยายปรัมปราที่เล่าขานกันมา โหวดคนอีสานโบราณเชื่อกันว่า เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอให้ฝนหยุดตก ในที่นี้หมายถึงพระยาแถน ผู้ซึ่งประทานน้ำฝนให้ตกในเมืองมนุษย์ ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ความเสียหายกับผลิตผลได้ จึงเป็นผลให้ไม่เป็นที่นิยมเล่นโหวดในฤดูฝน (เพราะกลัวฝนแล้ง)

การพัฒนาเป็นเครื่องดนตรี

การนำโหวดมาปรับปรุงใช้เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำขึ้นครั้งแรกโดยชาวอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด มีนายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ เป็นหมอโหวดคนสำคัญ เป็นผู้คิดเอาโหวดประสมกับวงแคนและซุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511-2516 เรียกวงดนตรีชนิดนั้นว่า “วงโหวดเสียงทองหนองพอก” ต่อมาปี พ.ศ. 2517 จึงนำวงโปงลางเข้ามาประสมด้วย อันเป็นสาเหตุให้ต้องปรับปรุงมาตราเสียงของโหวดให้ตรงกับมาตราเสียงของโปงลาง คือมีระดับเสียงจากต่ำไปสูง จนแพร่หลายไปทั่วประเทศ และต่างประเทศจนถึงปัจจุบัน

โหวด
ส่วนประกอบของโหวด การทำโหวดการเรียนเป็นช่างทำโหวด จะเรียนรู้จากผู้รู้ โดยหลักการส่วนใหญ่ๆ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยต้องอาศัยทักษะความชำนาญ ความแม่นยำในการฟังระดับเสียง และคิดค้นรูปแบบใหม่ๆ เพื่อพัฒนาให้ทันสมัย

วัสดุที่ใช้ในการทำโหวดประกอบด้วยไม้ไผ่เฮี้ยหรือไม้ไผ่รวก และขี้สูด (รังของแมลงจำพวกแมงน้อย แมงน้อยนี้ชอบทำรังตามจอมปลวกหรือตามโพรงไม้ รังของมันมีน้ำหวานปั้นเอาน้ำหวานออก เรียก ขี้สูดแมงน้อย แมงน้อยไม่มีเหล็กไน ต่อยคนไม่เป็น)

อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำโหวดได้แก่ มีดอีโต้ (สำหรับตัดลำไม้ไผ่) มีดตอก (สำหรับเจียน ตกแต่ง) ไม้สำหรับปรับระดับเสียง และน้ำมันก๊าด (สำหรับล้างทำความสะอาด)

ขั้นตอนในการทำโหวด

  1. นำไม้ไผ่เฮี้ยที่เลือกสรรแล้ว มาตัดเรียงความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ
  2. ตัดแต่งลูกโหวดแต่ละลูก โดยตัดเฉียงเป็นมุม 45 องศา อุดรูลูกโหวดด้วยขี้สูดแล้วปรับระดับเสียง
  3. นำไม้รวกมาตัดแต่งทำเป็นแกนโหวด โดยเลือกไม้ไผ่ให้มีขนาดใหญ่หรือเล็กตามขนาดของลูกโหวด
  4. นำลูกโหวดมาแปะติดกับแกนโหวด โดยใช้ขี้สูดเป็นตัวยึดโดยรอบ
  5. นำขี้สูดอีกส่วนหนึ่งติดที่หัวของโหวด ตกแต่งให้เรียบนูนสวยงาม และตกแต่งรูลูกโหวดให้เป่าง่ายไม่เปลืองลม

ขนาดของโหวด

ขนาดของโหวดแต่ดั้งเดิมนั้นนิยมทำกันอยู่ 3 ขนาด คือ 1) ขนาดเล็ก มีลูกโหวด 3-7 ลูก 2) โหวดกลาง มีลูกโหวด 9 ลูก3) โหวดใหญ่ มีลูกโหวด 11-13 ลูก

โหวด ความยาวของลูกโหวดในแต่ละลูกนั้นจะสั้นยาวแตกต่างกัน ลูกที่ยาวที่สุดประมาณ 25 เซนติเมตร ลูกต่อมายาวลดหลั่นกันลงมา จนถึงลูกที่สั้นที่สุด ประมาณ 6 เซนติเมตร คนโบราณเรียกลูกโหวดลูกที่ยาวที่สุดว่า “ลูกโอ้” ลูกที่เหลือไม่ปรากฎชื่อ ในปัจจุบันจะเรียกชื่อลูกโหวดตามระดับเสียงโน้ตสากล คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที

โหวดพื้นเมืองมี 5 บันไดเสียง คือ โด เร ฟา ซอล ลา แต่ในปัจจุบันมีการปรับระดับเสียงให้ครบทั้ง 7 เสียง เพื่อให้สามารถนำไปบรรเลงประกอบวงดนตรีสากลได้ ทางดนตรีหรือลายโหวดประกอบการแสดงส่วนมากเป็นลายที่แต่งขึ้นใหม่ โดยอาศัยทำนองจากลายแคน จากทำนองหมอลำ จากทำนองสรภัญญะบ้าง


ประเภทของโหวด โหวดมี 3 ประเภท คือ

  1. โหวดกลม ใช้เป่าเป็นเครื่องดนตรีประกอบวงดนตรีพื้นเมืองอีสานนิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
  2. โหวดแกว่ง ลักษณะเหมือนโหวดกลม แต่ต่างกันตรงที่ติดหางยาวไว้สำหรับแกว่งให้เกิดเสียง
  3. โหวดแผง ใช้เป่าเหมือนโหวดกลม แต่ได้ดัดแปลงการติดตั้งลูกดหวดจากการติดรอบแกน มาเป็นการติดกันเป็นแผงเหมือนกับแคนแต่เป็นแถวเดี่ยวแถวเดียว

ที่มา

http://www.isangate.com/entertain/wote.html

 

                

ขลุ่ย

          ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีโบราณของไทยชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นก่อนหรือในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ร่วมสมัยกับเครื่องดนตรีประเภท กลอง ฆ้อง กรับ พิณเพียะ แคน ขลุ่ย ปี่ ซอ และกระจับปี่ แต่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏ ในกฎมนเฑียรบาลสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 19912031) แห่งกรุงศรีอยุธยาว่าห้ามร้องเพลงหรือเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีตะโพนในเขตพระราชฐานก่อนที่จะมาเป็นขลุ่ยอย่างที่ปรากฏรูปร่างในปัจจุบัน ขลุ่ยได้ผ่านการวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน มาจากปี่อ้อซึ่งตัวปี่หรือเลาทำจากไม้รวกท่อนเดียวไม่มีข้อ และมีลิ้นซึ่งทำด้วยไม้อ้อลำเล็กสำหรับเป่าให้เกิดเสียง หลังจากนั้นจึงปรับเปลี่ยนรูปร่าง และวิธีเป่าจนกลายมาเป็นขลุ่ยอย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่าเป็นขลุ่ยเพียงออ

ประเภทของขลุ่ย

คนไทยเป็นคนที่มีพรสวรรค์ทางศิลปะ จะเห็นได้ว่างานหัตถกรรมของไทยงดงามไม่แพ้ของชนชาติใดในโลก ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมจึงทำให้เรามีมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ขลุ่ยก็เช่นเดียวกัน นอกจากขลุ่ยเพียงออ ซึ่งสืบทอดคุณลักษณะและรูปร่างมาแต่โบราณแล้ว ต่อมาบรรพบุรุษของเรายังได้คิดค้น “ขลุ่ยหลีบ” ไว้สำหรับเล่นคู่กับขลุ่ยเพียงออ “ขลุ่ยอู้” ซึ่งคิดค้นขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ประกอบการละเล่นละครดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้น ก็ยังมีขลุ่ยที่เรียกชื่ออย่างอื่นอีก เช่น ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยเคียงออ ขลุ่ยรองออ ขลุ่ยออร์แกน เพื่อให้เหมาะกับการที่จะไปเล่นผสมกับวงดนตรีประเภทต่างๆ

ปัจจุบันขลุ่ยที่ยังมีผู้นิยมเล่นมากที่สุด มี 3 ประเภท คือ

  1. ขลุ่ยเพียงออ
  2. ขลุ่ยหลีบ
  3. ขลุ่ยอู้

ขลุ่ยเพียงออ

เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ 2 นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู 4 รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี 14 รูด้วยกัน รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ยในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงโหซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลงและใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมาเจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิทขลุ่ยใช้เป่าในวงเครื่องสายไทย วงมโหรี และในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ การเทียบเสียงขลุ่ยเพียงออกับระดับเสียงดนตรีสากล เสียงโดของขลุ่ยเพียงออ เทียบได้เท่ากับ เสียง ทีแฟล็ต ในระดับเสียงทางสากล ปัจจุบันได้มีการทำขลุ่ยเพียงออที่มีระดับเสียงเท่ากับระดับเสียงสากล เรียกว่าขลุ่ยเพียงออ ออร์แกนบ้าง หรือขลุ่ยกรวดบ้าง แต่ในทางดนตรีสากลจะเรียกเป็นขลุ่ยไทยหมด จะเอาระดับเสียงมาเป็นตัวแยกขนาดเช่น ขลุ่ยคีย์ C, ขลุ่ยคีย์ D, ขลุ่ยคีย์Bb, ขลุ่ยคีย์ G เป็นต้น เป็นขลุ่ยที่มีขนาดปานกลาง ความยาวประมาณ 16 นิ้วระดับเสียงกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำเกินไป เป็นขลุ่ยที่มีผู้นิยมเล่นมากที่สุด นอกจากจะเป่าเพื่อความบันเทิงและความรื่นรมย์เฉพาะตัวแล้ว ขลุ่ยเพียงออยังเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตาม (เช่นเดียวกับระนาดทุ้ม และ ซออู้) ตามประเพณีนิยมในวงเครื่องสาย และ วงมโหรี

ขลุ่ยหลีบ

จัดเป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยทั้งหมด มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูง ใช้ในการบรรเลงในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายเครื่องคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุด ความยาวประมาณ 12 นิ้ว เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องนำ (เช่นเดียวกับระนาดเอก และ ซอด้วง) ในวงมโหรีและวงเครื่องสายเครื่องคู่ และใช้เป็นเครื่อง ตามในวงเครื่องสายปี่ชวาเมื่อปิดนิ้วหมดทุกนิ้ว เป่าแล้วจะได้เสียง “ฟา” สูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 4 เสียง

ขลุ่ยอู้

เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ความยาวประมาณ 23 นิ้ว มีระดับเสียงต่ำสุดและเป็นขลุ่ยที่มีเสียงต่ำที่สุดคือต่ำกว่าเสียงโดต่ำของขลุ่ยเพียงออ 2-3 เสียง และมีลักษณะพิเศษที่ต่างจากขลุ่ยเพียงออ และขลุ่ยหลีบ คือมีรูที่ทำให้เกิดเสียง 6 รู เมื่อปิดนิ้วทุกนิ้ว เป่าแล้วจะได้เสียง “ซอล” ต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียงนิยมใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2

ดนตรีพื้นบ้านอีสาน…พิณ

          พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายดีดที่มีมานาน นานจนไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นคนแรก เครื่องดนตรีที่มีหลักการเช่นเดียวกันนี้ พบในหลายๆ ประเทศ แต่ชื่อเรียก ย่อมแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติภาษา และรูปร่างปลีกย่อยอาจแตกต่างกันไปเช่นกัน
พิณ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เฉพาะพิณของชาวอีสาน ซึ่งแม้แต่ชาวอีสานเอง ก็เรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้แตกต่างกันออกไป เช่น แถบอุบล เรียกว่า “ซุง” ชัยภูมิเรียกว่า “เต่ง” หรือ “อีเต่ง” หนองคาย

เรียกว่า “ขจับปี่” เป็นต้น แต่ชื่อสามัญที่คนทั่วไปใช้เรียก คือ “พิณ” นั่น

พิณสมัยก่อน มีเฉพาะพิณโปร่ง นิยมทำจากไม้ขนุน เนื่องจาก ให้เสียงกังวานใสดี เกิดกำทอนดี ไม้ขนุน เนื้อไม่แข็งมาก ใช้มีด ใช้สิ่วเจาะทำพิณได้ไม่ยาก จริงๆ แล้ว ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ไม้มะหาด ไม้ยูง ก็ให้เสียงกังวานใสดีเช่นกัน แต่เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งมาก และค่อนข้างหายาก จึงไม่นิยมนำมาทำพิณ ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ไม้มะเหลื่อม ไม้ฉำฉา เป็นต้น ก็ทำพิณได้เช่นกัน แต่เสียงอาจจะไม่แน่นดี ซึ่งหากจะเอาแค่ดีดแล้วมีเสียงดัง จะใช้ไม้อะไรก็ได้ที่ขึงสายแล้วตัวพิณไม่หัก นอกจากนั้น ช่างทำพิณบางคน อาจทำเต้าพิณจากกะลา น้ำเต้า บั้งไม้ไผ่ กระดองเต่า ใช้หนังสัตว์ เช่นหนังงู เป็นต้น ทำเป็นแผ่นประกบปิดเต้าพิณ

พิณสมัยปัจจุบัน มีทั้งพิณโปร่ง พิณไฟฟ้า และพิณโปร่งไฟฟ้า

สายพิณ สมัยโบราณ เข้าใจว่า คงใช้เชือกหรือหนัง จากนั้น เมื่อมีรถจักรยานแล้ว ก็หันมาใช้สายเบรกรถจักรยานแทน แต่ปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้ผลิตสายกีตาร์จำหน่าย จึงหันมาใช้สายกีตาร์โปร่งสำหรับพิณโปร่ง สายกีตาร์ไฟฟ้าสำหรับพิณไฟฟ้า
พิณ มีเสียงกังวานสดใส สามารถบรรเลงเพลงได้ทั้งจังหวะอ่อนหวาน เศร้ารันทด และสนุกสนานครื้นเครง เข้าถึงอารมณ์แบบพื้นบ้าน พิณจึงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคนอีสาน

http://www.isan.clubs.chula.ac.th/dontri/?transaction=pin.php

เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องตี (Percussion Instrument)

เครื่องตี (Percussion Instrument)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการตีกระทบ การสั่น การเขย่า การเคาะ การตีอาจจะใช้ไม้ตีหรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เกิดเสียง เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือแผ่นหนังขึงตึง

กลองใหญ่ (Bass Drum) กลองใหญ่ คือ เครื่องตีมี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง เสียงกลองตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้เกิดความหนักแน่น หรืออาจจะใช้การตีแบบรัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น สร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้น

กลองเล็ก (Snare Drum)  กลองเล็ก คือ เครื่องตี มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง ลักษณะเฉพาะคือหน้ากลองด้านล่างจะต้องคาดไว้ด้วยสายสะแนร์เป็นแผงเพื่อให้เกิดเสียงซ่า เดิมสายสะแนร์ทำดวยเอ็นสัตว์ ในปัจจุบันสายสะแนร์มีทั้งที่ทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นลวดโลหะ กลองเล็กมีหลายชื่อ เช่น Snare Drum และ Side Drum

ทิมปานี (Timpani)  เป็นกลองที่มีลักษณะเหมือนกระทะ หรือกาต้มน้ำ จึงมีช่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Kettle Drum ตัวกลองทำด้วยโลหะทองแดง ตั้งอยู่บนขาหยั่ง กลองทิมปานี มีระดับเสียงแน่นอน เทียบเท่ากับเสียงเบส มีเท้าเหยียบเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงตามต้องการในการบรรเลงต้องใช้อย่างน้อย 2 ใบ

คองก้า (Konga) ชื่อของกลองชนิดหนึ่ง เป็นกลองหน้าเดียว ขึงด้วยหนังสัตว์ กลองคองก้ามีหลายขนาดต่างระดับเสียงกัน จะใช้ 3 ใบ 4 ใบ หรือ 5 ใบ หรือมากกว่านั้นก็ได้ปกติใช้อย่างต่ำ 2 ใบ ตีสอดสลับกันตามลีลาบทเพลง ตีด้วยปลายนิ้วและฝ่ามือ

บองโก (Bongo)  กลองบองโก เป็นกลองคู่ จะต้องมี 2 ใบเสมอ เล็ก 1 ใบ ใหญ่ 1 ใบ ระดับเสียงของกลอง 2 ใบ ตั้งเสียงให้ห่างกันในระดับคู่ 5 โดยประมาณ กลองทั้ง 2 ใบ จะติดตั้งกับอุปกรณ์ ยึดติดให้อยู่คู่กัน ขณะที่ตีกลองผู้ตีกลองจะต้องหนีบกลองทั้ง 2 ใบให้อยู่ระหว่างขาทั้งสองข้างหนีบไว้ด้วยหัวเขาหรือวางไว้บนขาตั้งโลหะก็ได้

แทมบูริน (Tambourine)  เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะ ประกอบขึ้นด้วยขอบกลมเหมือนขอบกลางขนาดเล็ก ขอบอาจทำด้วยไม้ พลาสติก หรือโลหะ รอบ ๆ ขอบติดด้วยแผ่นโลหะประกบกัน 2 แผ่น หรือติดด้วยลูกกระพรวนเป็นระยะใช้การตีกระทบกับฝ่ามือหรือสั่นเขย่า ให้กิดเสียงดังกรุ๋งกริ๋ง เพื่อประกอบจังหวะให้เกิดความสนุกสนาน สดชื่น

กิ๋ง (Triangle)  คือเครื่องตี ทำด้วยแท่งโลหะ ดัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม แท่งโลหะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เพื่อให้เกิดเสียงกังวาน ต้องแขวนกิ๋งไว้กับเชือกแล้วด้วยแท่งโลหะ กิ๋งมีเสียงแจ่มใส มีชีวิตชีวา

มาราคา (Maraca)  คือ เครื่องตี เดิมทำด้วยผลน้ำเต้าที่แก่จัด ทำให้แห้ง ภายในบรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า เมล็ดถั่วต่าง ๆ หรือลูกปัดลูกเล็ก ๆ ต่อด้ามไว้สำหรับจับถือ เวลาเล่นใช้เขย่าเพื่อให้เกิดเสียงซ่า ๆ จะเขย่าด้วยมือทั้ง 2 ข้าง ให้ดังสอดสลับกัน ปัจจุบันทำด้วยไม้

คาบาซา (Cabasa)  คือเครื่องตีทำจังหวะ เดิมทำด้วยผลน้ำเต้า หรือผลบวบแห้ง ภายนอกรอบ ๆ ห่อด้วยลูกประคำร้อยเชือก จะมีด้ามมือถือหรือไม่มีก็ได้ เกิดเสียงโดยการหมุน สั่น เขย่า ถู เพื่อให้ลูกประคำเคลื่อนที่เสียดสีกับผิวของผลน้ำเต้าหรือผลบวบ ทำให้เกิดเสียงดังขึ้นปัจจุบันคาบาซาทำด้วยไม้ประกอบโลหะ เป็นทรงกระบอก มีด้ามจับถือ ผิวของทรงกระบอกห่อหุ้มด้วยแผ่นโลหะ ทำผิวให้ขรุขระ ลูกประคำนั้นจะทำด้วยโลหะร้อยติดกันล้อมรอบผิวโลหะ

เคาเบลล์ (Cowbell)  คือ เครื่องดนตรีประเภทตีทำจังหวะ พัฒนามาจากกระดิ่งผูกคอวัว รูปทรงจะคลายกับระฆังมากกว่ากระดิ่ง ตีด้วยไม้ตีกลอง

กลองชุด (Drum set)  คือเครื่องตีประกอบด้วยกลองใหญ่ กลองสะแนร์ ฉาบ 1 หรือ 2 ฝา กลองทอม 2 หรือ 3 ใบ ไฮแฮท กระเดื่องเท้า พร้อมทั้งเพิ่มเครื่องทำจังหวะอื่น ๆ เช่น เคาเบลล์

ฉาบ (Cymbal)  คือ เครื่องตีจังหวะ มีหลายลักษณะบางชนิดใช้ตีคู่ให้เกิดเสียงด้วยมือทั้งสองข้าง ฉาบบางชนิดจะใช้เพียงข้างเดียว ตีด้วยไม้ตีฉาบชนิดนี้ต้องติดตั้งบนขาตั้ง เช่น ฉาบที่ใช้สำหรับกลองชุด ฉาบมีหลายขนาด ขนาดใหญ่จะให้เสียงดังและก้องกังวานมากขึ้น
ระฆังราว (Tubular Bells)  คือ เครื่องตีทำนอง ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียงตามลำดับเสียงจากสูงไปต่ำ แขวนกับโครงโลหะในแนวดิ่ง ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัว จะเกิดเป็นเสียงเหมือนระฆัง

มาริมบา (Marinba)  เครื่องตีทำนองที่มีระดับเสียงแน่นอน เป็นระนาด ไม้ขนาดใหญ่ลูกระนาดทำด้วยไม้พิเศษที่มีชื่อว่า “Rosewood” ใต้ลูกระนาดจะมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง

ไซโลโฟน (Xylophone)  คือ เครื่องตีทำทำนองที่มีระดับเสียงแน่นอน เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีสากล ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือ ไวบราโฟน แต่ขนาดเล็กกว่า ลูกระนาดทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง

ไวบราโฟน (Vibraphone)  เครื่องตีทำทำนองที่มีระดับเสียงแน่นอน เป็นระนาดขนาดใหญ่ลูกระนาดทำด้วยโลหะ ลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบา หรือโซโลโฟน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะเพื่อเป็นตัวขยายเสียง มีแกนใบพัดเล็ก ๆ ประจำอยู่แต่ละท่อ ใช้ระบบมอร์เตอร์หมุนใบพัดทำให้เกิดเอฟเฟคต์เสียงสั่นรัว

ที่มา่     http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1391